วิหารพุทธไสยาสน์
อยู่นอกวิหารคตด้านทิศเหนือ นอกเขตพุทธาวาส ใกล้สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ภายในประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์และพระพุทธบาทจำลอง กล่าวกันว่า ก่อนที่จะนำพระอุรังคธาตุเข้ามาประดิษฐานในอูบมุงภูกำพร้านั้น บริเวณนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุมาก่อน
อยู่นอกวิหารคตด้านทิศเหนือ นอกเขตพุทธาวาส ใกล้สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ภายในประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์และพระพุทธบาทจำลอง กล่าวกันว่า ก่อนที่จะนำพระอุรังคธาตุเข้ามาประดิษฐานในอูบมุงภูกำพร้านั้น บริเวณนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุมาก่อน
สร้างขึ้นครั้งแรก ระหว่าง พ.ศ. ๒๐๘๒ – ๒๑๐๒ สมัยพระเจ้าโพธิสาราช กษัตริย์ในราชวงศ์ล้านช้างองค์ที่ ๔๐ แห่งเมืองหลวงพระบาง ทรงสร้างเอาไว้โดยก่ออิฐถือปูน เดิมเป็นวิหารใหญ่เรียกว่า “วิหารหลวง” มีการบูรณะปฏิสังขรณ์หลายครั้ง จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ถูกพระธาตุพนมล้มทับพังยิบเยินเหลือแต่ฐานสูงประมาณ ๑ เมตรเศษ ทำให้หอพระแก้วได้รับความเสียหายมาก ตัวหอพระแก้วยังไม่ได้สร้างขึ้นใหม่มีแต่องค์พระมารวิชัยศาสดาซึ่งเป็นพระประธานในหอพระแก้วประดิษฐาน เด่นเป็นสง่าหน้าองค์พระธาตุพนม
หอจดหมายเหตุ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ขององค์พระธาตุพนม ภายในมีรูปภาพ เรื่องราวต่าง ๆ ขององค์พระธาตุพนมในอดีตจนถึงปัจจุบัน เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 08.30 – 17.30 น. ทุกวัน
พระประธานในพระวิหาร พระนามว่า “พระพุทธมารวิชัยศาสดา” เข้าใจว่าสร้างแต่สมัยพระเจ้าโพธิสาลราช นครหลวงพระบาง เสด็จมาสร้างพระวิหารหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๐๗๓ – ๒๑๐๒ เมื่อสร้างวิหารใหญ่เข้าใจว่าได้หล่อพระประทานไว้ประจำเลย เพราะสืบแต่ผู้เฒ่าผู้แก่ก็บอกว่า เห็นประจำอยู่ในพระวิหารหอพระแก้วตั้งแต่ก่อนเกิด ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ เจ้าอาวาสได้ให้ช่างสร้างนาค ๗ เศียรแบบขอมประดับ ดูสวยงามมาก แต่เวลานี้พระธาตุล้มทับพังแล้ว คงเหลือแต่พระประทานไม่เป็นอันตราย เวลานี้ทางศิลปากรไดลงรักปิดทองและกั้นฉัตร ๕ ชั้นไว้กลางแจ้งบนฐานพระวิหาร หลังคาและผนังพระวิหาร กรมศิลปากรรื้อจะสร้างใหม่
ด้านหลังองค์พระธาตุพนม (ด้านทิศตะวันตก) จะมีต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งเป็นต้นที่นำมาจากประเทศอินเดีย ต้นเดียวกับที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนั่งบำเพ็ญจนได้ตรัสรู้ รัฐบาลนำมาจากประเทศอินเดีย โดยสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) สังฆนายกองค์แรกเป็นผู้แทนของรัฐบาลนำมาปลูกไว้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๕
ภายในมีศิลปโบราณวัตถุสมัยต่าง ๆ วิวัฒนาการแห่งความคิดมนุษย์ ภาพเขียนประวัติวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เปิดให้ชมทุกวัน ไม้เว้นวันหยุดราชการ เวลา 08.00 น. – 16.00 น.
ในอุรังคนิทานซึ่งเป็นตำนานของพระอุรังคธาตุนั้น ในกัณฑ์ที่ ๔ ได้กล่าวถึง “ เทพเจ้าสโมสร” พระอินทร์นำบริวารลงมาบูชาพระธาตุพนม กล่าวคือ เมื่อพญาทั้ง ๕ คือ พญาสุวรรณภิงคาร, พญาคำแดง, พญาจุลณีพรหมทัต, พญาอินทปัฐนครและพญานันทะเสน สร้างพระธาตุพนมและพระมหากัสสปเถระเจ้าได้นำเอาพระอุรังคธาตุเข้าบรรจุไว้แล้ว ก็เสด็จกลับไปยังชมพูทวีป ฝ่ายพญาทั้ง ๕ ก็นำเสนาอำมาตย์ กลับไปยังเมืองของตน ๆ
สถูปอิฐพระธาตุพนมองค์เดิม ตั้งอยู่เกาะกลางสระน้ำหน้าวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากองค์พระธาตุพนมประมาณ ๒๐๐ เมตร และห่างจากริมฝั่งแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศลาวประมาณ ๒๕ๆ เมตร มีลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยม สูงจากระดับพื้น ประมาณ ๑๔ เมตร ตั้งอยู่บนฐานสูง ๖ๆ เซนติเมตร ข้างในใช้เก็บรักษาเศษอิฐเศษปูนพระธาตุพนมองค์เดิม ซึ่งหักพังทลายลงในวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘ นอกจากนี้ ยังำด้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตธาตุ พระพุทธรูป อัญมณี และวัตถุมงคลอื่น ๆ เป็นจำนวนมากอีกด้วย กรุสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุพร้อมทั้งสิ่งของอันมีค่า ได้จัดทำขึ้นเป็นพิเศษ ส่วนกว้าง ๑.๕๐ เมตร ยาว ๒ เมตร สูง ๑.๕๐ เมตร
น้ำบ่อวัดพระธาตุพนม ตั้งอยู่ทางทิศเหนือขององค์พระธาตุ บริเวณกำแพงชั้นนอก ห่างจากพระธาตุพนมประมาณ 30 วา (60 เมตร) บ่อ กว้าง 1.50 เมตร ลึก 10 เมตร กรุข้างบ่อด้วยไม้แดง บ่อน้ำเก่าแก่ น้ำใส รสจืดสนิท และมีน้ำอยู่ตลอดปี ราษฎรส่วนมากใช้น้ำในบ่อนี้เป็นน้ำดื่ม และใช้เป็นน้ำอภิเษกของจังหวัดนครพนมมีอยู่เพียงแห่งเดียว เป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์โบราณเรียกว่า “บ่อน้ำพระอินทร์” มีบ่อน้ำจืดใสสะอาดอยู่ในป่าตาล ใกล้หอพระพุทธไสยาสน์ ปัจจุบันทำเป็นเขื่อนไว้โดยรอบ ถือว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ๑ ในจำนวน ๑๘ แห่ง ที่เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์นำมาใช้ในพิธีบรมราชาภิเษกให้พระมหากษัตริย์สรงที่เรียกว่า “สรงมูรธาภิเษก”